วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

อนุกรม

อนุกรมเลขคณิต
ความหมายของอนุกรมเลขคณิต
กำหนด          a1,  a1 + d,   a1 + 2d,   …,    a1 + (n – 1)d                     เป็นลำดับเลขคณิต
        จะได้   a1  +   (a1 + d)  +  (a1 + 2d)   +    +   (a1 + (n – 1)d)   เป็นอนุกรมเลขคณิต

        ซึ่งมี   a1  เป็นพจน์แรกของอนุกรม และ  d  เป็นผลต่างร่วมของอนุกรมเลขคณิต

         d   เท่ากับ พจน์ที่ n + 1 ลบด้วยพจน์ที่ n

ตัวอย่างของอนุกรมเลขคณิต  

1.            1  +  3  +  5  +  7  +    +  99           เป็น อนุกรมเลขคณิต

                        เพราะว่า 1,   3,   5,   …,   99                                 เป็น ลำดับเลขคณิต  

                        และมีผลต่างร่วมเท่ากับ  2


2.           25  +  20  + 15  +  10  +                 เป็น อนุกรมเลขคณิต

                        เพราะว่า 25,   20,   15,  10,               เป็น ลำดับเลขคณิต  

                        และมีผลต่างร่วมเท่ากับ – 5


3.           7   +  14  +  21  +  28  +                 เป็น อนุกรมเลขคณิต

                        เพราะว่า  7,   14,   21,  28,                เป็น ลำดับเลขคณิต  

                        และมีผลต่างร่วมเท่ากับ  7
การหาผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต

ให้  Sn  เป็นผลบวก   n   พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต
        ที่มี   a1  เป็นพจน์แรก และ  d    เป็นผลต่างร่วม   จะได้
               Sn  =     a1  +   (a1 + d)  +  … +  [a1+(n – 2)d]  +   [a1+(n –1)d]           -----(1)
        หรือ Sn=  [a1 + (n –1)d]  +  [a1 + (n – 2)d]  + …  +  (a1 + d)    +      a1    -----(2)
        สมการ (1)+(2)  จะได้
             2Sn    =   [2a1 + (n –1)d]  +  [2a1 + (n –1)d] + … + [2a1 +  (n –1)d]  (n  พจน์ )
             2Sn    =    n[2a1 +  (n –1)d]
 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอนุกรมเลขคณิต   
ตัวอย่างที่ 1   จงหาผลบวกของจำนวนเต็มระหว่าง  100  และ  500  ที่  9 หารลงตัว

โจทย์ถาม ผลบวกของจำนวนเต็มระหว่าง  100  และ 500 
   ที่  9 หารลงตัว คือ   108  +  117  +  126  +  … +   495 
   เป็นอนุกรมเลขคณิต   มี  a1  =  108,  d  =  9,  an =  495   





หาค่าของ  n จากสูตร      an         =      a1 + (n –1)d
                      495       =     108  +  (n – 1)(9)
                         n         =      44

 จากสูตร      
                                                                           
 S44         =            
                                                                                                             =               10,998

ผลบวกของจำนวนเต็มระหว่าง  100  และ 500  ที่  9 หารลงตัว เท่ากับ    10,998


อนุกรมเรขาคณิต


บทนิยาม อนุกรมเรขาคณิต
อนุกรมที่ได้จากลำดับเรขาคณิต   เรียกว่า อนุกรมเรขาคณิต  และ อัตราส่วนร่วมของลำดับเรขาคณิต
จะเป็นอัตราส่วนร่วมของ อนุกรมเรขาคณิตด้วย
กำหนด      a1,    a1r,    a1r2,   …,   a1r          n-1เป็นลำดับเรขาคณิต
                        จะได้          a1    +  a1r  +  a1r2  + … + a1r  n-1เป็นอนุกรมเรขาคณิต
                ซึ่งมี       a1  เป็นพจน์แรก  และ  r  เป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิต
จากบทนิยาม  จะได้ว่า ถ้า  a1,   a2,   a3,   …,   an   เป็น ลำดับเรขาคณิต ที่มี n  พจน์
จะเรียกการเขียนแสดงผลบวกของพจน์ทุกพจน์ของลำดับในรูป
a1  +  a2  +  a3 +    +  an ว่า  อนุกรมเรขาคณิต
ความหมายของอนุกรมเรขาคณิต
                 อนุกรมที่ได้จากลำดับเรขาคณิต   เรียกว่า อนุกรมเรขาคณิต  และอัตราส่วนร่วมของลำดับเรขาคณิต
จะเป็นอัตราส่วนร่วมของ อนุกรมเรขาคณิตด้วย
กำหนด      a1,    a1r,    a1r2,   …,  a1r  n-1เป็นลำดับเรขาคณิต
จะได้            a1    +  a1r  +  a1r2  + … + a1r  n-1เป็นอนุกรมเรขาคณิต
ซึ่งมี       a1  เป็นพจน์แรก  และ  r  เป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิต
ตัวอย่างของอนุกรมเรขาคณิต
                        1.   2 + 4 + 8 + 16 + …             เป็น อนุกรมเรขาคณิต
                                เพราะ  2,  4,  8,  16,      เป็น ลำดับเรขาคณิต
                                และมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ  2
                        2.   81 + 27 + 9 + 3 + …          เป็น อนุกรมเรขาคณิต  
                                เพราะ  81,  27,  9,  3,    เป็น ลำดับเรขาคณิต 
                                และมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ 
                        3.  3 + 3 + 3 + 3 + …             เป็น อนุกรมเรขาคณิต
                                เพราะ  3,  3,  3,  3,     เป็น ลำดับเรขาคณิต
                                และมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ  1
การหาผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต
    ให้     Sn          แทนผลบวก   n   พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต
                        ซึ่งมี      a1     เป็นพจน์แรก และ   r    เป็นอัตราส่วนร่วม
                        Sn       =     a1    +    a1r + a1r2  +  + a1r n-2+ a1r n-1            --- (1)
                        สมการ (1) คูณ  r  จะได้
                        rSn      =     a1r + a1r2+ a1r3 + … + a1r n-2+ a1r n-1 +  a1r n  --- (2)
                        สมการ (1) – (2)  จะได้
                       Sn   rSn     =    a1-a1rn
                       (1 –  r)Sn     =    a1(1-rn)















สรุป   ผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต


เมื่อ     Sn   แทนผลบวก   n   พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต
                                                         a1    แทนพจน์ที่ 1
                                                         an    แทนพจน์ที่   n
                                                         r    แทนอัตราส่วนร่วม  พจน์ที่ n+1 หารด้วยพจน์ที่ n

การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอนุกรมเรขาคณิต
ตัวอย่างที่ 1  อนุกรมเรขาคณิต   3   +   6   +   12   +      จะต้องบวกกันกี่พจน์  จึงจะได้ผลบวกเป็น   765


กำหนด อนุกรมเรขาคณิต  3   +   6   +   12   +       =    765
   ถามว่าจะต้องบวกกันกี่พจน์ คือหาค่า n  เมื่อ Sn  =  765


อนุกรมเรขาคณิต มี a1  =  3,  r  =  2,  Sn  =  765
   หาค่าของ n  จะต้องใช้สูตร




อนุกรมนี้จะต้องบวกกัน    8    พจน์



อ้างอิงข้อมูลมาจาก http://www.snr.ac.th/elearning/suvadee/content2-2-3.htm

1 ความคิดเห็น:

  1. ข้อที่ จงหาผลบวกของจำนวนเต็มระหว่าง 100 และ 500 ที่ 9 หารลงตัว
    Snมันเท่ากับS43 รึเปล่าครับ

    ตอบลบ