วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ประพจน์

ประพจน์ คือ ประโยค หรือข้อความที่อยู่ในรูปแบบประโยคบอกเล่า หรือประโยคปฏิเสธ ที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง



ตัวอย่างเช่น



เชียงใหม่เป็นจังหวัดทางภาคใต้  
 เป็นประพจน์ เพราะเป็นประโยคบอกเล่าที่เป็นเท็จ


ใครทำจานแตก
 ไม่เป็นประพจน์ เพราะเป็นประโยคคำถามและบอกไม่ได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ


• -1 ไม่เป็นจำนวนเต็มบวก
เป็นประพจน์ เพราะเป็นประโยคปฏิเสธที่มีค่าความจริงเป็นจริง
      นั่นคือ ประโยคคำถาม คำสั่ง ขอร้อง คำอุทาน หรือประโยคที่ไม่สามารถระบุค่าความจริงได้ ไม่เป็นประพจน์

 กำหนดให้ p และ q เป็นประพจน์ใดๆ
เราสามารถเชื่อมประพจน์ทั้งสองเข้าด้วยกันได้ โดยอาศัยตัวเชื่อมประพจน์ดังต่อไปนี้

ตัวเชื่อมประพจน์ "และ"
     การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ "และ" สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นจริง (T) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F)

ตัวเชื่อมประพจน์ "หรือ"
     การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ "หรือ" สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T)

ตัวเชื่อมประพจน์ "ถ้า...แล้ว"
     การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ "ถ้า...แล้ว" สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p เป็นจริง (T) และ q เป็นเท็จ (F) นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T)

ตัวเชื่อมประพจน์ "ก็ต่อเมื่อ"
     การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ "ก็ต่อเมื่อ" สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงกัน และจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงข้ามกัน

นิเสธของประพจน์ 
     นิเสธของประพจน์ใดๆ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงกันข้ามกับประพจน์นั้นๆ และสามารถเขียนแทนนิเสธของ p ได้ด้วย ~p

ตารางแสดงค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อม


ประพจน์ที่สมมูลกัน
           ประพจน์ 2 ประพจน์จะสมมูลกัน ก็ต่อเมื่อ ประพจน์ทั้งสองมีค่าความจริงเหมือนกัน ทุกกรณีของค่าความจริงของประพจน์ย่อย

ตัวอย่างประพจน์ที่สมมูลกันที่ควรทราบ มีดังนี้
p q สมมูลกับ q p
p q สมมูลกับ q p
(p q) r สมมูลกับ p (q r)
(p q) r สมมูลกับ p (q r)
p (q r) สมมูลกับ (p q) ( p r)
p (q r) สมมูลกับ (p q) ( p r)
p q สมมูลกับ ~p q
p q สมมูลกับ ~q ~p
p q สมมูลกับ (p q) (q p)

ประพจน์ที่เป็นนิเสธกัน
          ประพจน์ 2 ประพจน์เป็นนิเสธกัน ก็ต่อเมื่อ ประพจน์ทั้งสองมีค่าความจริงตรงข้ามกันทุกกรณีของค่าความจริงของประพจน์ย่อย 

ตัวอย่างประพจน์ที่เป็นนิเสธกันที่ควรทราบ มีดังนี้
~(p q)สมมูลกับ~p ~q
~(p qสมมูลกับ~p ~q
~(p q)สมมูลกับp ~q
~(p q)สมมูลกับ(p ~q) (q ~p)
~(p q)สมมูลกับ(p ~q) ( q ~p)

 
 อ้างอิงข้อมูลมาจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น